Social :



เทคนิคการขยายพันธุ์ เอื้องแซะ ให้มีโอกาสรอดตายสูง ได้ผลผลิตดี

30 ส.ค. 62 10:08
เทคนิคการขยายพันธุ์ เอื้องแซะ ให้มีโอกาสรอดตายสูง ได้ผลผลิตดี

เทคนิคการขยายพันธุ์ เอื้องแซะ ให้มีโอกาสรอดตายสูง ได้ผลผลิตดี

เทคนิคการขยายพันธุ์  เอื้องแซะ  
ให้มีโอกาสรอดตายสูง ได้ผลผลิตดี

เอื้องแซะ ”  เป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ทั่วไปบนเทือกเขาสูงในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ดอยอินทนนท์  และดอยสุเทพ  จังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งสูง  1,000  เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยกล้วยไม้เอื้องแซะจะให้ดอกที่มีกลิ่นหอมคล้ายดอกพิกุล  ส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน  ซึ่งแต่ละดอกจะบานทน  ประมาณ  5-7  วัน

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  ในรัชกาลที่  9   ทรงโปรดกลิ่นหอมของดอกเอื้องแซะมาก และได้มีพระราชเสาวนีย์ให้มีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ชนิดนี้เพื่ออนุรักษ์และขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น พร้อมให้ดูแลรักษาพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ ห้ามไม่ให้นำพันธุ์ออกจากป่า และให้เพิ่มจำนวนคืนสู่ป่าธรรมชาติมากขึ้นด้วย


ส่งคืน  เอื้องแซะสู่ผืนป่า
เนื่องจากปัจจุบันปริมาณกล้วยไม้เอื้องแซะในป่าธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงมาก  เนื่องจากมีการเก็บต้นเอื้องแซะจากป่าออกมาขาย  ประกอบกับสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  ทั้งยังมีปัญหาภัยแล้ง  การตัดไม้ทำลายป่า  และไฟป่าเกิดขึ้นทุกปี  ส่งผลให้กล้วยไม้เอื้องแซะมีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์

กรมวิชาการเกษตร   โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน    ได้เพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ในรัชกาลที่  9  โดยใช้เทคนิคการเพาะเมล็ดและเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ในสภาพปลอดเชื้อ ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น

แต่พบว่ามีปัญหา คือ เมล็ดเอื้องแซะที่นำมาเพาะสามารถงอกได้ดีในสภาพห้องควบคุมสภาพแวดล้อมปรับอากาศ แต่เมื่อนำออกมาเลี้ยงนอกห้องควบคุมสภาพแวดล้อมต้นอ่อนจะแห้งตายเกือบทั้งหมด


จากการศึกษาวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอนได้ค้นพบว่า  
1.ช่วงฤดูร้อน  ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม  เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการย้ายปลูกกล้วยไม้เอื้องแซะให้มีอัตราการรอดชีวิตสูง  และสามารถเจริญเติบโตดี

2. การย้ายปลูกกล้วยไม้เอื้องแซะในกระโจมพลาสติกเป็นวิธีที่ทำให้ต้นเอื้องแซะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี  มีอัตราการมีชีวิตรอดสูงสุดร้อยละ  87.5  และหลังย้ายปลูก  90  วัน
MulticollaC
มีการเจริญเติบโต  จำนวนใบ  ขนาดใบ  และจำนวนรากสูงสุด

3. การย้ายปลูกกล้วยไม้เอื้องแซะในวัสดุปลูกสแฟคนัมมอสส์  ทำให้มีอัตราการมีชีวิตรอดสูงสุด  ร้อยละ  72  หลังย้ายปลูก  90  วัน  เพราะสแฟคนัมมอสส์เป็นวัสดุปลูกที่มีศักยภาพในการดูดซับความชื้นได้ดี  ทำให้เอื้องแซะมีการเจริญเติบโตและมีจำนวนใบเฉลี่ยสูงสุด  เอื้องแซะที่ปลูกในใยมะพร้าวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นสูงสุด  และเอื้องแซะที่ปลูกในเปลือกไม้ท้องถิ่นจำนวนรากเฉลี่ยสูงสุด


ปัจจุบัน  ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน  เพาะขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ  โดยใช้เทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อได้ปีละประมาณ  1,700  ต้น  โดยมีอัตราการรอดชีวิตกว่าร้อยละ  80

หลังจากการติดตามผลพบว่า  กล้วยไม้เอื้องแซะที่ส่งคืนสู่ป่ามีอัตราการรอดชีวิตสูง มีสภาพสมบูรณ์และเติบโตดี  โดยเฉพาะพื้นที่บ้านห้วยฮี้ซึ่งคนในชุมชนให้ความร่วมมือในการดูแลรักษาและอนุรักษ์อย่างดี  ทำให้เอื้องแซะอยู่รอดได้ในสภาพป่าธรรมชาติ

ทางศูนย์ฯ  ยังได้ขยายผลและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เอื้องแซะให้กับเกษตรกรหมู่บ้านน้ำกัด  เพื่อผลิตเอื้องแซะในกระถางและเก็บดอกส่งขายให้กับผู้ผลิตน้ำหอมกลิ่นเอื้องแซะ  ช่วยสร้างรายได้เสริมให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง  และเป็นช่องทางช่วยลดการเก็บกล้วยไม้เอื้องแซะออกจากป่ามาขายได้อีกด้วย












ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.technologychaoban.com

โพสต์โดย : POK@