ทำความรู้จักกับ ทุเรียนเทศ
ทำความรู้จักกับ ทุเรียนเทศ
ทุเรียนเทศ หรือ ทุเรียนน้ำ ภาษาอังกฤษว่า Soursop ,Prickly Custard Apple ชื่อวิทยาศาสตร์
Annona muricata L. และได้ชื่อเรียกอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) หมากเขียบหลด (ภาคอีสาน) และมะทุเรียน (ภาคเหนือ) จัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกับน้อยหน่าและกระดังงา มีลักษณะใบเดี่ยว กลีบดอกแข็ง มีกลิ่นหอมตอนเช้า ผลมีรูปร่างคล้ายทุเรียน มีหนามแต่ไม่แหลมมาก เปลือกสีเขียว เนื้อสีขาว ฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดแก่สีดำ ปลูกมากในแถบอเมริกากลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพืชที่ชอบที่ที่มีความชื้นสูง
มีงานวิจัยในแถบทะเลแคริบเบียนที่แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานทุเรียนเทศกับโรคพาร์คินสัน เพราะทุเรียนเทศมี annonacin ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้สูง มีการวิจัยออกมาว่าในประเทศที่มีการใช้เมล็ดเป็นยาพื้นเมืองฆ่าพยาธิ พบว่าคนเป็นพาร์คินสัน จึงควรเลี่ยงการกินเมล็ด ในผลทุเรียนเทศสด 1 ผล มีสาร annonacin 15 milligrams และ 1 กระป๋องของน้ำผลไม้ที่ทำสำเร็จแล้วเพื่อการค้ามี annonacin 36 milligrams annonacin มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดแผลในสมอง ทำให้มีอาการแบบพาร์คินสัน จึงควรหลีกเลี่ยงการกินผลทุเรียนเทศมากเกินไป
ทุเรียนเทศยังเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ในยาที่ขายในตลาดในชื่อ Triamazon. โดยยาตัวนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นยาในอังกฤษ แต่มีการวิจัยออกมาว่าในประเทศที่มีการใช้เมล็ดเป็นยาพื้นเมืองฆ่าพยาธิได้ แต่ไม่แนะนำสำหรับคนที่เป็นพาร์คินสัน และควรเลี่ยงการกินเมล็ด ในผลทุเรียนเทศสด 1 ผล มีสาร annonacin 15 milligrams และ 1 กระป๋องของน้ำผลไม้ที่ทำสำเร็จแล้วเพื่อการค้ามี annonacin 36 milligrams annonacin มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดแผลในสมองทำให้มีอาการแบบพาร์คินสัน จึงควรหลีกเลี่ยงการกินผลมากเกินไป
การสำรวจบทบาทของทุเรียนเทศ ตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรี จนถึงจังหวัดสงขลารวม 12 จังหวัด สามารถพบตัวอย่างทุเรียนเทศ 145 จุด จุดสำรวจที่พบมากที่สุดได้แก่จังหวัด นครศรีธรรมราช พบมากถึง 32 จุด รองลงมาได้แก่จังหวัดตรัง พบตัวอย่างต้นทุเรียนเทศเพียง 25 จุด ส่วนจังหวัดที่พบน้อยที่สุดได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ที่พบตัวอย่างต้นทุเรียนเทศเพียง 1 จุด สภาพสวนหรือต้นทุเรียนเทศที่พบ จำแนกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
พื้นที่สวน ส่วนใหญ่จะพบต้นทุเรียนเทศในสภาพที่ปลูกอยู่รอบๆ ที่อยู่อาศัยร่วมกับพืชอื่นๆ ในสวนบ้านทั่วไป ส่วนใหญ่จะมี 1-2 ต้นเท่านั้น อายุของต้นทุเรียนเทศที่พบมีอายุตั้งแต่อายุ 2 ถึงประมาณ 50- 60 ปี จุดประสงค์การปลูกทุเรียนเทศ ส่วนใหญ่เพื่อใช้รับประทานผลสดในครัวเรือน หรือแบ่งปันให้เพื่อนบ้าน
สวนสมรม มี 2 สวนที่มียังมีการปลูกทุเรียนเทศร่วมกับพืชอื่นๆ ในลักษณะหลายชั้นเรือนยอด ไม่มีการจัดระยะปลูกที่แน่นอน มีการเก็บผลผลิตสวน ไปจำหน่ายในตลาดท้องถิ่นเป็นประจำ ขนาดของสวนที่พบ ประมาณ 12 ไร่ จำนวนต้นทุเรียนเทศที่พบแทรกอยู่ในสวนประมาณ 30-60 ต้น พืชร่วมที่ปลูกได้แก่ มะพร้าว มะม่วง กล้วย ต้นสะเดาช้าง สะตอ ผลทุเรียนเทศสามารถจำหน่ายในราคาผลละ 10 -20 บาทหรือในราคากิโลกรัมละ 25 บาท
หน่วยงานราชการ มีทุเรียนเทศที่ถูกปลูกใน 3 หน่วยราชการ ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง และศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบุรี สวนทุเรียนเทศในสถานที่ที่กล่าวมานี้ มีการจัดระยะปลูกเป็นแถวเป็นแนวที่ระยะปลูก 5 X 5 เมตร บทบาททุเรียนเทศในกรณีนี้ จึงน่าจะเป็นแหล่งรวบรวม และศึกษาการเพาะปลูกของทุเรียนเทศได้เป็นอย่างดี
ในที่สาธารณะกรณีนี้พบน้อย จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าสถานะภาพของทุเรียนเทศในฐานะการเป็นพืชร่วมของทุเรียนเทศในสวนบ้าน หรือสวนสมรม จึงมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของต้นทุเรียนเทศในประเทศไทย แต่มีแนวโน้มว่าจะลดหรือสูญหายไปจากสวนเหล่านี้
สภาพแวดล้อมที่ทุเรียนเทศเจริญเติบโต พบว่าดินที่มีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง (pH) 3-7 ทุเรียนเทศ สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบได้แก่รับประทานผลสด การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำผลไม้พร้อมดื่ม ไวน์ ในด้านสรรพคุณทางสมุนไพรทุเรียนเทศมีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น เมล็ดใช้เป็นยาแก้โรคบิด ยาสมาน ทำให้อาเจียน ใช้เบื่อปลา ใช้ฆ่าแมลง ใบขยี้ผสมกับปูนใช้ทาแก้ท้องอืด รากทุเรียนเทศตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าว ประคบจะช่วยให้หายจากอาการเจ็บปวดจากการโดนครีบปลาแทง นำใบมาตัดส่วนโคนและปลายใบออก นำไปต้มกับน้ำเกลือ เพื่อรักษาอาการปวดฟันได้ และมีความเชื่อว่าการบริโภค ผลทุเรียนสดจะช่วยรักษาโรคเบาหวานได้
บทบาทเหล่านี้ของทุเรียนเทศ พบว่าทุเรียนเทศมีแนวโน้มจะหายไปจากสวนบ้าน ทั้งนี้เนื่องจากสภาพความเจริญของพื้นที่ ที่ถูกแปรเปลี่ยนเป็นบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัย เนื่องจากทุเรียนเทศส่วนใหญ่ถูกปลูกไว้ใกล้บ้านจึงนับเป็นภัยคุกคามโดยตรง ประกอบกับความนิยมในการบริโภคนับวันจะน้อยลงไปเรื่อยๆ
ทุเรียนเทศชอบดินร่วน มีความชุ่มชื้น ระบายน้ำได้ดี มีแสงแดดครึ่งวันถึงรำไร นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในบ้าน ในการปลูกเป็นการค้านิยมปลูกในประเทศมาเลเซีย โดยมีระยะปลูก 4 * 4 เมตร ให้ผลได้ในปีที่ 4 ได้ผลผลิตประมาณ 1.5 – 2 ตันต่อไร่ต่อปี
การเพาะเมล็ดทำได้โดยการนำเมล็ดมาเพาะ เมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน แต่ต้นกล้าจะโตช้าและออกดอกเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเสียบยอด และทาบกิ่ง
โรคและแมลงที่ปรากฎ อยู่ในระหว่างการศึกษา คาดว่าน่าจะเป็นลักษณะเดียวกับน้อยหน้า
ทุเรียนเทศนิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร ในประเทศไทยนำผลแก่มารับประทาน ในภาคใต้นิยมนำผลอ่อนมาทำแกงส้มและเชื่อม ในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย นิยมนำผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมารับประทานเป็นผัก ผลแก่นำมาทำขนมหวาน เช่น นำเนื้อมาผสมในไอศกรีม เครื่องดื่มนมผสมผลไม้รวม เยลลี่ น้ำผลไม้ ในประเทศมาเลเซีย มีการทำน้ำทุเรียนเทศอัดกระปํอง ซึ่งได้รับความนิยมมาก เนื่องจากทุเรียนเทศประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามิน เอ วิตามิน ซี นำตาลและกรดอินทรีย์อีกหลายชนิด
สรรพคุณทางยาของทุเรียนเทศ ได้แก่ ผลสุกรับประทานแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ผลดิบรับประทานแก้โรคบิด เมล็ดใช้สมานแผลห้ามเลือด ใช้เบื่อปลาและฆ่าแมลง ส่วนใบ ใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้ไอ ปวดตามข้อ ใบชาที่ทำให้แห้งโดยการใช้วิธีการ Air Dry จะช่วยทำให้ประโยชน์ในการรักษาและฆ่าเชื้อแบคทีเรียนั้นเข้มข้นขึ้น เมื่อใบแห้งแล้ว ฉีกใบเป็นชิ้นเล็กๆ และตวงให้ได้ 1 ถ้วยตวงต่อน้ำ 1 ลิตร นำไปต้ม และลดไฟให้ต่ำ เคี่ยวอีก 20 นาที ใช้ดื่ม 3 ถ้วยต่อวัน 30 นาทีก่อนมื้ออาหาร ดื่มน้ำชาแบบนี้ทุกวันเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย (บ้างก็ว่าสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้)
ในส่วนที่กินได้ของทุเรียนเทศ 100 กรัม พบว่ามีน้ำ 83.2 กรัม ให้พลังงาน 59 กิโลแคลลอรี ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรท 15.1 กรัม เส้นใย 0.6 กรัม โปรตีน 1.0 กรัม แคลเซียม 14 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 มี 0.08 มิลลิกรัม และวิตามินซี 24 มิลลิกรัม
ทุเรียนเทศมีขายในตลาดนัดท้องถิ่นตามฤดูกาล แต่ไม่พบบ่อยนักอาจจะเนื่องมาจากขาดความคุ้นเคยและความตระหนักถึงคุณค่า ตลอดจนการแข่งขันกับผลไม้ชนิดอื่นๆ ในฤดูกาลเดียวกัน นอกจากนี้เนื้อในทุเรียนเทศแกะรับประทานยาก จึงนิยมนำไปแปรรูปในลักษณะไอศกรีม น้ำผลไม้ ดังเช่นที่เป็นที่นิยมในประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ผลทุเรียนเทศที่วางขายในตลาดนัดคณะทรัพยากรธรรมชาติในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2549 ราคากิโลกรัมละ 25 บาท โดยผลขนาดย่อมมีราคาประมาณ 10 บาทต่อผล
ลู่ทางการพัฒนาทุเรียนเทศในเชิงอุตสาหกรรมเกษตร มีความเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย และสะดวกต่อการรับทานมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันน้ำทุเรียนเทศเข้มข้นยังไม่มีวางขายในประเทศไทย ยังไม่มีการนำเนื้อมาทำไอศกรีม หรือเยลลี่เหมือนดังในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
โพสต์โดย : POK@