ความเชื่อเรื่อง! ขนมแต่งงาน ในพิธีแต่งงานของไทย
ขนมแต่งงาน ในพิธีแต่งงานของไทย
ในงานบุญต่างๆ ที่เป็นพิธีมงคลมักจะเห็นขนมที่มีชื่อสื่อไปถึงสิ่งที่ดีงามหรือเป็นสัญลักษณ์ของบางสิ่ง บางอย่างอยู่เสมอ เช่นบรรดาขนมอันมีชื่อประกอบไปด้วยทองต่างๆ หรือขนมชั้นที่เป็นปึกแผ่นเรียงๆ กันคล้ายจะให้ความนัยไปถุงความ เป็นปึกแผ่นมั่นคงของครอบครัวทำนองนี้ หรือจะขนมจ่ามงกุฎที่เป็นคล้ายรูปจำลองของยอดมงกุฎของกษัตริย์ ก็ถูกใช้ในงาน เลี้ยงเลื่อนยศของ บรรดาเจ้าขุนมูลนายสมัยก่อน
โดยมีความหมายถึงความสูงส่งก้าวหน้า และสิริมงคล ความนัยต่างๆ ของขนมมงคลเหล่านี้ล้วนแต่ได้รับการถ่ายทอดสิบเนื่องกันมา มีปรับเปลี่ยนกันไปบ้างตามกาลเวลา แต่หัวใจของความนัยที่ว่า ขอให้มีสิ่งมงคล, สิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับชีวิตนั้นยังคงอยู่เสมอมา
ขนมในพิธีแต่งงานของทุกชาติคงหนีไม่พ้นการสื่อนัยมงคลว่าด้วยความสงบสุขของการอยุ่ด้วยกัน, การร่วมสร้าง ครอบครัวใหม่ให้เป็นปึกแผ่น, ความหวานชื่น , ความร่ำรวย และการเจริญเติบโตของเผ่าพันธุ์
บางชาติก็ใช้เมล็ดพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ มาทำขนมแต่งงาน บางทีก็มีการประดิษฐ์สื่อสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อสื่อถึงความหมายมงคลต่างๆ ด้วย
ขนมแต่งงานของไทยในสมัยก่อนสื่อความหมายโรแมนติกไม่ใช่เล่นแถมยังต้องมีเคล็ดในการทำ ซึ่งคงเป็นอุบายสอน ให้รู้จักความประณีตอดทนในการตั้งใจทำอะไรสักอย่าง ขนม ที่ว่ายังคงมีใช้กันตามต่างจังหวัดบ้าง หรือตามโรงเรียนสตรีบางแห่ง ก็ยังคงมีสอนให้รู้จัก
ขนมแต่งงานโบราณประกอบด้วยขนมกง, ขนมโพรงแสม และขนมสามเกลอ น่าเสียดายที่คราวนี้ ไม่สามารถหารูปมาให้ชมกันได้ ไปถามหาท่านผู้รู้ไหนๆ ก็ไม่ยอมทำให้เลย เนื่องเพราะใช้เวลาทำนาน และบางอย่างก้ทำยากอีก
ขนมกง
มีรูปร่างเป็นคล้ายๆ วงล้อรถค่ะ คือกลม และมีกากบาทตรงกลางทำด้วยถั่วกวนกับมะพร้าว ปั้นเป็นรูปล้อรถ และชุบแป้งทอด ขนมนี้มีความหมายว่า ความรักของบ่าวสาวจะ เป็นนิรันดร์เหมือนวงกลมที่ไม่มีจุดสิ้นสุดนั่นเอง
ขนมโพรงแสม
เป็นแผ่นแป้งทรงคล้ายๆ กระบอกข้าวหลามมีรูกลวงข้างใน และโรยน้ำตาลเป็นสายๆ เคลือบแป้งทอดกรอบ ขนมชนิดนี้ใช้แทนสัญลักษณ์ของเสาบ้าน ที่เป็นเหมือนหลักของการสร้างบ้านใหม่ของครอบครัว ใหม่ให้อยู่กันมั่นคงยืนยาว
ขนมสามเกลอ
มีรูปร่างเหมือนก้อนกลม 3 ก้อนติดกัน ชุบแป้งทอด คล้ายๆ ขนมกง อันนี้ใช้เป็นเหมือนขนมเสี่ยงทาย โดยถ้าทอดแล้วขนมอยู่ติดกันก็ถือว่า บ่าวสาวนั้นเป็นเนื้อคู่ ถ้าทอดแล้ว แยกจากกันก็จะต้องแก้เคล็ด โดยเปลี่ยนคนทำใหม่ จนกว่าจะได้ขนมที่สมบูรณ์
สำหรับขนมในพิธีแต่งงานในปัจจุบันนี้ ดูจะคำนึงถึงสองสื่อควบคู่กันคือ ยังคงความป็นมงคล และมีหน้าที่ดูสวยงามด้วย ส่วนจะเป็นกี่ชนิด นั้นก็เห็นนิยมกันที่ไม่ 7 ชนิด ก็ 9 ชนิด
ดังตัวอย่างที่นำมาให้ชมมีขนมเอก, ขนมเสน่ห์จันทร์, ขนมจ่ามงกุฎ, ขนมชั้น, ฝอยทอง, ทองหยิบ, ทองหยอด, เม็ดขนุน และขนมถ้วยฟู อย่างที่เคยได้ยินมาจากผู้ใหญ่บางท่าน
ทองเอก เป็นขนมที่จะขาดเสียไม่ได้เลยสำหรับขนมแต่งงาน ด้วยเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นเอกเป็นหนึ่ง (จริงๆ น่าจะเป็นหนึ่งเดียวนะคะ ไม่ใช่เป็นเอกอันอาจหมายถึงเมียเอกหรืออะไรกัน...)
ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ก็แปลว่าให้หยิบเงิน หยิบทอง เพื่อคู่ชีวิตจะได้ร่ำรวยสืบไป
ขนมเสน่ห์จันทร์ ซึ่งรสชาติที่เหมือนกันกับทองเอก และจ่ามงกุฎก็มีความหมายถึง การมีเสน่ห์ผูกมัดใจคู่ชีวิต
ขนมชั้น หมายถึงความเป้นปึกแผ่นมั่นคง ของเดิมนั้นทำกันแบบขนมชั้น9 ชั้น มาหลังๆ นี้ก็มีการพลิกแพลง ทำเป็นรูปร่างต่างๆ กันให้สวยขึ้น
ขนมถ้วยฟู ก็จะใช้แทนความหมายของความเพื่องฟูทั้งลาภยศ อะไรทำนองนี้
ขนมจ่ามงกุฎ คงถูกนำมาใช้ในสใยหลังนี่เองเพื่อความหรูหราสวยงาม เพราะเดิมแล้วขนมชนิดนี้จะใช้ในงานฉลองยศ
ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:horoscope.thaiza.com
โพสต์โดย : monnyboy