กรมการข้าว แนะนำเทคนิคการตัดใบข้าว นอกจากช่วยกำจัดวัชพืช ยังช่วยเพิ่มผลผลิตในนาหว่าน
กรมการข้าว แนะนำเทคนิคการตัดใบข้าว
นอกจากช่วยกำจัดวัชพืช ยังช่วยเพิ่มผลผลิตในนาหว่าน
นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า พื้นที่การทำนาของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากการปลูกแบบปักดำมาเป็นการหว่านข้าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาแรงงานและความต้องการลดต้นทุนการผลิต แต่ด้วย
วิธีการปลูกแบบหว่านข้าว นี้ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาวัชพืชเพิ่มมากขึ้นด้วย สาหรับแนวทางการป้องกันกำจัดวัชพืชในนาหว่านข้าว ตามหลักวิชาการถึงแม้สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การกำจัดด้วยการใช้แรงงานคนหรือใช้เครื่องทุ่นแรง การใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ปลูกสูงกว่าปกติ การใช้สารป้องกันกำจัดวัชพืช อย่างไรก็ตาม วิธีการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มต้นทุนและสร้างความยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นให้แก่ชาวนา ดังนั้น ชาวนาหลายพื้นที่โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ทดลองใช้เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อการกำจัดวัชพืช พบว่าได้ผลดีและเริ่มนิยมใช้แพร่หลายมากขึ้น จนปัจจุบันมีงานวิจัยของ
กรมการข้าว พบว่า
“ เทคนิคการตัดใบข้าว ” ไม่ใช่เพื่อการกำจัดวัชพืชเท่านั้น แต่มีศักยภาพที่จะเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ นาหว่านข้าวได้ด้วย เนื่องจากใบข้าวและวัชพืชที่ตัดออกจะถูกย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ให้กับข้าวเป็นอย่างดี ช่วยลดการแข่งขันของวัชพืช ทำให้ต้นข้าวสูงสม่ำเสมอและแตกกอได้ดีเหมือนนาปักดำ ช่วยลดการระบาดและทำลายของโรคแมลงศัตรูข้าว รวงข้าวออกอย่างสม่ำเสมอและสุกแก่พร้อมกัน ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 12 เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติตามปกติที่ไม่ได้ตัดใบ
เทคนิคการตัดใบข้าวเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มผลผลิตที่ปลูกโดยวิธีหว่านข้าวนั้น ไม่แนะนำให้ทำ ในนาปักดำ เพราะระบบรากของข้าวที่ปลูกแบบนาปักดำจะไม่แข็งแรงเท่ากับนาหว่าน เมื่อตัดใบข้าวแล้วจะทำให้ข้าวฟื้นตัวช้าหรือไม่ฟื้นเลย สำหรับสภาพแปลงนาหว่านที่เหมาะสมสำหรับการตัดใบควรมีระดับน้ำในนาไม่มากนักคือสูงไม่เกิน 5 เซนติเมตร ถ้าระดับน้ำสูงจะทำให้ตัดไม่สะดวก ชาวนาสามารถตัดใบข้าวโดยใช้เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายบ่า โดยตัดที่ระยะข้าวกำลังแตกกอ ที่ความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร จากผิวดิน หรือระดับผิวน้ำที่เหมาะสม (ไม่เกิน 5 เซนติเมตร) แต่ถ้าระดับน้ำสูงเกินไปคือมากกว่า 30 เซนติเมตร ชาวนาไม่ควรตัดเพราะจะไม่ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวแต่อย่างใด เศษใบข้าวและวัชพืชที่ถูกตัดจะถูกเกลี่ยให้กระจายไปทั่วๆ แปลง เพื่อย่อยสลายเป็นปุ๋ยให้กับข้าวต่อไป
หลังจากตัดใบประมาณ 15 วัน ต้นข้าวก็จะเจริญเติบโตจนมีความสูงเท่าเดิมก่อนตัด พบว่าการใช้เทคนิคการตัดใบข้าวนี้จะทำให้ผลผลิตข้าวนาหว่านเพิ่มขึ้นอย่าง เห็นได้ชัดและจะยิ่งชัดเจนขึ้นถ้าแปลงนาหว่านนั้นๆ มีวัชพืชขึ้นหนาแน่น เพราะการตัดต้นข้าวจะเป็นการตัดต้นวัชพืชด้วย แต่หลังจากนั้นต้นข้าวจะมีการงอกต้นใหม่ และเจริญเติบโตได้ดีกว่าวัชพืช
นายประสงค์ ประไพตระกูล อธิบดีกรมการข้า ว ให้คำแนะนาว่า ในสถานการณ์ที่เกิดภาวะแห้งแล้งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของข้าว และเกิดปัญหาวัชพืชร่วมด้วย แต่ในปัจจุบันที่เริ่มมีปริมาณฝนตกดีขึ้น และหากเริ่มมีน้ำขังนา เกษตรกรชาวนาสามารถใช้เทคนิคการตัดใบข้าวนี้เพื่อลดปัญหาวัชพืชและเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านได้
หากชาวนาท่านใดสนใจ สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ในพื้นที่ หรือที่กรมการข้าว เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โพสต์โดย : POK@