Social :



เทคนิคการติดตาเขียวยางพารา เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ยางพาราที่สมบูรณ์มีคุณภาพ

24 ก.ค. 62 11:07
เทคนิคการติดตาเขียวยางพารา เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ยางพาราที่สมบูรณ์มีคุณภาพ

เทคนิคการติดตาเขียวยางพารา เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ยางพาราที่สมบูรณ์มีคุณภาพ

เทคนิคการติดตาเขียวยางพารา
เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ยางพาราที่สมบูรณ์มีคุณภาพ


ยางพารา   เป็นพืชเศรษกิจที่สำคัญของประเทศ  นิยมปลูกกันมากทางภาคใต้และภาคตะวันออก  แต่ปัจจุบันมีการปลูกยางพาราทั่วทุกภูมิภาคของไทย  วันนี้คุณอภิชาติ ภารมงคล  ปราชญ์ชาวบ้านตำบลแม่น้ำคู้  จะมาแนะนำขั้นตอนการติดตาเขียวยางพาราด้วยตนเองเพื่อเป็นการลดต้นทุนของเกษตรกรในการซื้อต้นกล้าพันธุ์ยาง

เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิดจังหวัดระยอง ลงพื้นที่พบ คุณอภิชาติ  ภารมงคล   ปราชญ์ชาวบ้านตำบลแม่น้ำคู้  อำเภอปลวกแดง  จังหวัดระยอง  เกษตรกรผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องการขยายพันธุ์พืช  และเป็นวิทยากรผู้ชำนาญการของศูนย์ส่งเสริมและพัตนาอาชีพการเกษตรอำเภอปลวกแดงจังหวัดระยอง  ได้แนะนำ วิธีการติดตาเขียวยางพารา เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ยางพาราที่สมบูรณ์มีคุณภาพ  และยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายของเกษตกรในการซื้อกล้ายางอีกด้วย


วัสดุ-อุปกรณ์
1.เมล็ดยางพารา  ตามปริมาณต้นยางที่ต้องการ
2.ปุ๋ยมะพร้าวที่มีความชื้น  60  เปอร์เซ็น
3.ยากันเชื้อราน้ำค้าง
4.มีดปลายแหลม
5.ถุงชำที่กรอกดินเหนียวไว้แล้ว  ตามปริมาณต้นยางที่ต้องการ
6.แผ่นพลาสติกใสสำหรับติดตายาง

วิธีการติดตาเขียวยางพารา
1. เก็บเมล็ดยางมาคลุกปุ๋ยมะพร้าวที่มีความชื้น  60  เปอร์เซ็นต์ไว้  4  วัน

2. เมื่อเมล็ดยางเริ่มงอกออกมาเป็นตีนตุ๊กแก  ให้นำไปหยอดในถุงชำที่เรากรอกดินเหนียวไว้  หยอดไว้  3  เมล็ดต่อถุง  เพื่อคัดต้นที่สวยที่สุดเก็บไว้

3. คัดต้นที่ไม่สมบูรณ์(ต้นกระเทย,ต้นตัวเมีย,ต้นใบขาว)ออก ให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ที่สุดไว้ต้นเดียว

4. ทิ้งไว้ประมาณ  6-8  เดือน  โดยในระหว่างนี้ให้คอยฉีดยากันเชื้อรา,ราน้ำค้าง (ฉีดครั้งแรกตอนเริ่มขึ้นยอดอ่อนและฉีดอีกครั้งตอนใบเริ่มเท) ใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง

5. เมื่อต้นเริ่มโตพอที่จะติดตา(สังเกตุต้นจะเป็นสีน้ำตาล) ให้ทำการติดตา

6. เปิดรอยกรีดโดยใช้ปลายมีดกรีดตามความยาวของลำต้น  จำนวน  2  รอย  ความยาว  7  ถึง  8  เซ็นติเมตร ห่างกันประมาณ  1  เซ็นติเมตร  ให้ส่วนล่างของรอยกรีดสูงจากพื้นดิน  ประมาณ  1  ถึง  2  เซ็นติเมตร แล้วใช้มีดกรีดเป็นแนวขวางกับรอยกรีดโดยให้ด้านบนเชื่อมติดกัน แล้วใช้ปลายมีดหรือด้ามแคะเปลือกบริเวณมุมแล้วลอกเปลือกลงข้างล่างจนสุด จากนั้นตัดเปลือกที่ดึงออกให้เหลือเป็นลักษณะของลิ้นสั้นๆ ความยาวประมาณ 1 ถึง
MulticollaC
2 เซ็นติเมตร

7. เตรียมแผ่นตาที่ได้จากกิ่งตาเขียว  ใช้มีดคมเฉือนออกอย่างเบามือ  โดยเริ่มจากด้านปลายไปยังด้านโคนโดยให้ติดเนื้อไม้บางๆ  อย่างสม่ำเสมอตลอดแนวยาว  ความยาวประมาณ 8  ถึง  9  เซ็นติเมตร  และให้มีตาอยู่ตรงกลางแผ่น ความกว้างของแผ่นตากะประมาณให้พอดีกับความกว้างของรอยแผล และเปิดเปลือกบนต้นกล้า  หากการเฉือนแผ่นตาหนา ให้มีความหนามากเกินไปจะทำให้ลอกออกยาก  เนื่องจากแผ่นตาเขียวช้ำได้ง่าย ดังนั้นก่อนเฉือนแผ่นตาต้องแน่ใจว่ามีดคมและสะอาดพอ

8. แต่งแผ่นตาทั้ง  2  ข้างให้มีลักษณะบางๆ  ขนาดพอให้แผ่นตาเข้ากับรอยเปิดกรีดบนต้นตอ  จากนั้นก็ตัดปลายด้านล่างออก


9. ลอกแผ่นตาออกจากเนื้อไม้  โดยการใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือทั้ง  2  ข้างจับปลายด้านบนของแผ่นตา  ใช้นิ้วกลางประคองแผ่นตาส่วนล่างแล้วค่อยๆ  ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตา  โดยพยายามอย่าให้ส่วนที่เป็นเปลือกโค้งงอ  หรืออีกวิธีหนึ่งใช้การลอกด้วยปากโดยใช้มือข้างหนึ่งจับแผ่นตาไว้แล้วหันด้านปลายแผ่นตาที่ยังไม่ตัดเข้าหาปาก  ใช้ฟันยึดส่วนที่เป็นเนื้อไม้แล้วใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งจับเปลือกด้านล่างไว้ แล้วค่อยๆ  ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตา พยายามไม่ให้เปลือกโค้งงอเช่นกัน  ตรวจดูแผ่นตาที่ลอกเสร็จ  หากแผ่นตาซ้ำหรือจุดเยื่อเจริญหลุดหรือแหว่งหรือไม่สมบูรณ์ก็ให้ทิ้งไป  ใช้เหลือเฉพาะแผ่นตาที่สมบูรณ์เท่านั้น

10. สอดแผ่นตาที่ลอกเนื้อไม้ออกแล้วใส่ลงในลิ้นเปลือกต้นตอเบาๆ  อย่างรวดเร็ว  และในขณะที่ใส่ระวังอย่าให้แผ่นตาถูกเนื้อไม้  เพราะจะทำให้แผ่นตาและเยื่อราเกิดอาการช้ำได้ และตัดส่วนของแผ่นตาที่เกินอยู่ข้างบนทิ้ง หรือจะทิ้งไว้เพื่อรอตัดออกในขณะที่พันผ้าพลาสติกก็ได้

11. พันแผ่นตาด้วยแผ่นพลาสติกใส  ขนาดความยาวประมาณ  30  เซ็นติเมตร  โดยพันจากด้านล่างขึ้นข้างบนให้แผ่นตาแนบกับแผลรอยเปิดของต้นกล้า  และให้ขอบพลาสติกทับกันสูงขึ้นไปจนเหนือรอยตัดตา  2  ถึง  3  รอบ  ผูกพลาสติกให้แน่นโดยการสอดปลายเข้าไปในพลาสติกรอบสุดท้ายแล้วดึงให้แน่น

12. ติดไว้ประมาณ  21-30  วัน  ค่อยนำพลาสติกออกโดยใช้มีดกรีดพลาสติกบริเวณด้านตรงข้ามเพื่อไม่ให้พลาสติกหลุดออกจากแผ่นตา

13.ตัดปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้เป็นต้นอ่อนตลอดเวลาจะทำให้ต้นยางไม่ออกดอก(ถ้าออกดอกต้นยางจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่



 




ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.rakbankerd.com

โพสต์โดย : POK@