Social :



เทคนิคการป้องกันโรคราน้ำค้างในข้าวโพด แบบกรมวิชาการเกษตร

10 ก.ค. 62 09:07
เทคนิคการป้องกันโรคราน้ำค้างในข้าวโพด แบบกรมวิชาการเกษตร

เทคนิคการป้องกันโรคราน้ำค้างในข้าวโพด แบบกรมวิชาการเกษตร

เทคนิคการป้องกันโรคราน้ำค้างในข้าวโพด
แบบกรมวิชาการเกษตร

ในระยะนี้จะมีฝนตกกระจายทั่วไป   กรมวิชาการเกษตร   แนะเกษตรกรผู้ ปลูกข้าวโพด   ให้หมั่นสังเกตอาการของ โรคราน้ำค้าง   มักพบแสดงอาการในระยะที่เริ่มเพาะปลูกถึงระยะที่ต้นข้าวโพดมีอายุประมาณ  30  วัน  ซึ่งในระยะนี้ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก  โดยอาการของโรคจะพบได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก  เริ่มแรกจะพบจุดเล็กสีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดบริเวณยอดมีสีเหลืองซีด  หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่  ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและความชื้นสูง  ด้านใต้ใบมักพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นผงสีขาวจำนวนมาก บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม  ต้นแคระแกร็น  เตี้ย  ข้อถี่  ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก  ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ  แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์  เช่น  มีจำนวนเมล็ดน้อย  หรือไม่มีเมล็ดเลย


สำหรับแหล่งที่เคยมีการระบาดของโรค  หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ มีอุณหภูมิต่ำ  และมีความชื้นในอากาศสูง เมื่อต้นข้าวโพดมีอายุ  5-7  วัน  เกษตรกรควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ  50%  ดับเบิ้ลยูพี  อัตรา  20-30  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร  หรือสารเมทาแลกซิล  25%  ดับเบิ้ลยูพี  อัตรา  30-40  กรัมต่อน้ำ  20  ลิตร โดยพ่นทุก  7  วัน  และพ่นติดต่อกัน  3-4  ครั้ง

นอกจากนี้  ในการเพาะปลูกข้าวโพดครั้งถัดไป เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ต้านทานโรค  และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล  35%  ดีเอส  อัตรา  7-10 
MulticollaC
กรัมต่อเมล็ดพันธุ์  1  กิโลกรัม  หรือสารเมทาแลกซิล-เอ็ม  35%  อีเอส  อัตรา  3.5  มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์  1  กิโลกรัม  หรือสารไดเมโทมอร์ฟ  50%  ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์  1  กิโลกรัม


กรณีเริ่มพบการระบาดของโรค  ให้เกษตรกรถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที  เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรค  สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก  ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ  20  วันขึ้นไป  จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน  ในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้าง  ให้เน้นการป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์








ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.kasetkaoklai.com

โพสต์โดย : POK@