Social :



ความเชื่อ: รวมวิธีขอฝนของคนโบราณ

23 พ.ค. 62 19:05
ความเชื่อ: รวมวิธีขอฝนของคนโบราณ

ความเชื่อ: รวมวิธีขอฝนของคนโบราณ







การขอฝน หรือ พิธีขอฝน นับเป็นอีกหนึ่งประเพณีความเชื่อที่พบได้มากในหลายๆเชื้อชาติ โดยเฉพาะในสมัยก่อนนั้นหากในปีใดที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ก็ย่อมจะมีการจัดพิธีขอฝน กับเทพยดาฟ้าดินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆตามความเชื่อของแต่ละท้องที่หรือแต่ละเชื้อชาติ วันนี้ HoroscopeThaiza.com ขอแนะนำพิธีขอฝนที่มีความแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติและวัฒนธรรม อยากรู้ว่าคนสมัยโบราณเขามีวิธีของฝนอย่างไรบ้าง? มาติดตามกันเลยค่ะ 

        1. การจุดบั้งไฟขอฝนจากเทพยดา หรือ พญาแถน ซึ่งคนอีสานเชื่อว่าเป็นเทพที่ทำให้เกิดฝนตก ชาวอีสานจึงได้มีการจัดพิธีจุดบั้งไฟบูชาพญาแถน ซึ่งมีปรากฏให้เห็นในวรรณกรรมและตำนานพื้นบ้านของอีสาน ทุกวันนี้ในบางหมู่บ้านบางชุมชนก็ยกเลิก ไปเพราะด้วยสถานที่ที่ไม่เหมาะสมแต่ในบางแห่งก็ไม่ได้ขอฝนโดยการจุดบั้งไฟแต่ใช้การแห่นางแมวแทน เพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์เก้าชีวิต เสียงแมวร้องเปรียบเสมือนว่าโลกมนุษย์กำลังเดือดร้อน ทวยเทพจึงดลบันดาลให้เกิดฝนเพื่อความชุ่มชื้นเย็นฉ่ำ จึงได้มีการแห่นางแมวไปตามบ้านเรือนให้คนเอาน้ำสาดนายจักรกมล 

        2. การแห่ช้างแห่ม้า หรือ การแห่ช้างปัจจัยนาเคนทร์ เป็นพิธีที่จัดขึ้นเนื่องจากจุดบั้งไฟแล้วฝนก็ยังไม่ตก แห่นางแมวแล้วฝนก็ยังไม่ตก เป็นงานที่จัดขึ้นในระดับตำบลหรืออำเภอเพราะมีผู้มาร่วมงานอย่างล้นหลาม แต่ก็ไม่ได้จัดบ่อยนัก 

        3. กบเรียกฝน หรือ กบขอฝน สำหรับวิธีนี้สามารถพบได้ในหลายประเทศทั่วโลก โดยชาวจีนตอนใต้มีความเชื่อกันว่าสัตว์ประเภทนี้สามารถบอกเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะมีฝนตกหรือไม่ เนื่องจากธรรมชาติของกบและคางคกที่เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เมื่อฝนตกกบจะออกจากโพรงดินหรือออกจากการจำศีลในช่วงฤดูฤดูหนาวและฤดูแล้งอันยาวนาน 

        ดังนั้นในพิธีขอฝนจึงมีกบและคางคกเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอค่ะ ส่วนในเวียนนามก็จะมีการตีกลองกบเรียกฝน ซึ่งพีธีตีกลองกบหรือกลองมโหระทึกนั้นจะถูกตีเพื่อส่งสัญญาณขอฝน พร้อมร้องรำทำเพลงประกอบไปกับท่าเต้นกบกระโดดไปมาเพื่อให้เทวดา ผีฟ้า ผีแถนที่อยู่บนฟ้าเกิดความพอใจและดลบันดาลให้ฝนตกลงมาตามที่ขอ 

        นอกจากนี้แล้วที่ประเทศอินเดียยังมีพิธีขอฝนโดยการใช้กบเช่นเดียวกัน แต่ที่แปลกไปก็คือชาวอินเดียจะขอฝนโดยการจัดพิธีกรรมจับกบแต่งงานขอฝน โดยกบที่นำมาแต่งงานนั้นมีชื่อว่า “ปุนาร์วสุ” กับ“ปุชาลา” โดยมีนักบวช 5 รูป ร่ายมนต์ในพิธีให้กับเจ้าบ่าวกับกบเจ้าสาว ตามประเพณีของชาวฮินดู โดยหวังว่าจะเกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล หลังจากที่เสร็จสิ้นพิธีนี้ไปแล้วค่ะ 

MulticollaC
        4. พิธีสวดคาถาปลาช่อน คือ อีกหนึ่งวิธการขอฝนจากเทวดาฟ้าดิน ที่สามารถพบเห็นได้ที่หมู่บ้านแปดอ้อม จังหวัดกำแพงเพชร พิธีสวดคาถาปลาช่อน เป็นประเพณีเก่าแก่และหายาก โดยจะมีการนำดินมาปั้นเป็นรูปปลาช่อน ปู เต่า วัวควาย คน รวมทั้งกบ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ เพื่อเตรียมการประกอบพิธีสวดคาถาปลาช่อน 108 จบ ขอฝนกลางทุ่งนา จากนั้นจะมีการวางเครื่องเซ่นไหว้สักการะ เพื่อแยกระหว่างมนุษย์โลกชั้นล่าง และสวรรค์ชั้นฟ้าด้านบน เพื่อให้รุกขเทวดาได้เห็นว่าโลกมนุษย์นั้นเดือดร้อนเรื่องฝนฟ้าไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล จึงต้องทำพิธีร้องขอจากเทวดา ให้ช่วยเหลือบันดานฝนฟ้าให้ตกลงมา 

        สำหรับการสวดคาถาปลาช่อนมีตำนาน กล่าวไว้ว่า ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นปลาช่อน แต่พระองค์ไม่เคยกินปลาเล็ก สัตว์เล็ก เคย กินตะไคร้น้ำและสาหร่ายอย่างอื่นแทน ครั้นฝนแล้ง น้ำแห้งปลาอื่นกำลังจะตาย พระโพธิสัตว์จึงโผล่ขึ้นมาจากเปลือกตมแหงนมองดูฟ้า แล้วตั้งสัจจะวาจาว่า "ดูกรเมฆฝน แม้ข้าพเจ้าเป็นปลา ข้าพเจ้าก็ไม่ได้กินปลาและบังเบียดปลา บัดนี้เพื่อนร่วมชาติและตัวข้าพเจ้ากำลังทุกข์หนัก และกำลังจะตายเพราะขาดน้ำ ด้วยอานุภาพแห่งศีลบารมี และสัจจะบารมีขอฝนจงตกลงมาให้ชีวิตชีวาแก่เราด้วยเถิด" ครั้นจบสัจจะวาจาของโพธิสัตว์ ฝนก็ตกลงมาอย่างงดงาม ไม่มีฟ้าร้อง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่าเลยค่ะ 

        5. ประเพณีเล่นเพลงปรบไก่ขอฝน จังหวัดเพชรบุรี เป็นวิธีบนบานขอฝนต่อศาลประจำหมู่บ้านด้วยการเล่นเพลงปรบไก่ ที่ตำบลลาดโพธิ์ อำเภอบ้านลาด จัดหวัดเพชรบุรี โดยพิธีบวงสรวงศาลและขอฝนนี้จะเล่นกันในวันเพ็ญเดือน 6 เป็นประจำทุกปี ชาวบ้านเชื่อกันว่าหลวงปู่ซึ่งสถิต ณ ศาลประจำหมู่บ้านไม่ชอบเพลงพื้นเมืองอื่น ๆ นอกจากเพลงปรบไก่อย่างเดียว ตั้งแต่นั้นมาจึงไม่มีการเล่นเพลงพื้นเมืองอื่น ๆ แทนเพลงปรบไก่อีกเลย 

        6. การเล่นนางด้ง เป็นการละเล่นแต่ครั้งสมัยโบราณ การเล่นนางด้งเป็นพิธีการขอฝนพิธีหนึ่งของชาวนครไทย การเล่นนางด้ง เป็นพิธีการขอฝนพิธีหนึ่งของชาวนครไทยเพื่ออ้อนวอนร้องขอต่อเทพยดาสิ่งที่ตนเคารพเชื่อถือ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนทุกวันนี้ 

        7. พิธีแห่พระขอฝนของชาวลำปาง ในปีไหนที่แล้งหนักมากๆ ชาวบ้านในตำบลเวียงตาลจะประกอบพิธีอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์เก่าแก่ ที่ในอดีตถูกขุดค้นพบใต้ดิน อายุกว่า 500 ปี ออกมาจากวิหารพระเจ้าทองทิพย์ เพื่อประกอบพิธีสรงน้ำดอกไม้และพิธีทางล้านนา นอกจากนี้ยังมีการแก้เคล็ดขอฝน ด้วยการนำอุปกรณ์จับปลามาช้อนบกอีกด้วย 



ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:horoscope.thaiza.com

โพสต์โดย : monnyboy