Social :



ตรวจสอบ 10 ดัชนีชี้วัดผลการปฎิบัติงาน ‘ผอ.ร.ร.’ ใหม่ เลขาฯ สพฐ.ระบุ เป็นให้เหตุผู้สมัครลดจำนวนลงทันที

29 พ.ย. 59 17:29
ตรวจสอบ 10 ดัชนีชี้วัดผลการปฎิบัติงาน ‘ผอ.ร.ร.’ ใหม่ เลขาฯ สพฐ.ระบุ เป็นให้เหตุผู้สมัครลดจำนวนลงทันที

ตรวจสอบ 10 ดัชนีชี้วัดผลการปฎิบัติงาน ‘ผอ.ร.ร.’ ใหม่ เลขาฯ สพฐ.ระบุ เป็นให้เหตุผู้สมัครลดจำนวนลงทันที

นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมรับทราบตามที่ สพฐ.ได้ดำเนินการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สพฐ.ประจำปี 2559 ในคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) 76 จังหวัด และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) รวม 2,890 อัตรา รับสมัครวันที่ 19-24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา มีผู้สมัครทั้งสิ้น 9,508 คน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ ที่ปรับปรุงใหม่ กำหนดให้ก่อนการบรรจุแต่งตั้งผู้บริหารจะต้องเข้ารับการอบรมพัฒนาอย่างน้อย 60 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้ สพฐ.ได้ดำเนินการคัดเลือกเนื้อหาการอบรม และใส่ในระบบทีอีพีอี

นายการุณกล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันได้จัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษาในเวลา 1 ปี จำนวน 10 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1.ความสามารถในการอ่านเขียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย 2.ผลงาน

Lif
หรือรางวัลที่ได้เกิดจากการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา 3.ผลการเรียนรู้เฉลี่ย 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 4.การบริหารงบประมาณ และการระดมทรัพยากร และการลงทุนจากภาคีเครือข่าย หรือภาคประชาสังคม เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา 5.การส่งเสริมให้ครู และบุคลากรได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพ 6.การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 7.การมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับผู้ปกครอง และชุมชน 8.อัตราการเกณฑ์เด็กเข้าเรียน หรือการรับนักเรียนตามแผนการรับนักเรียน 9.อัตราการศึกษาต่อของนักเรียน และ 10.ผลการดำเนินการตามนโยบายของ ศธ.

“จะเห็นว่าการรับสมัครครั้งนี้ มีผู้สมัครลดลงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยมีเพียง 9,508 คน จากปกติมีมากถึง 15,000-20,000 คน ถือเป็นการกลั่นกรองผู้ที่มีความสามารถได้ขั้นหนึ่ง เมื่อเข้าไปปฏิบัติงานแล้วจะต้องเข้ารับการประเมิน 1 ปี โดยจะแบ่งเป็นคราวละ 6 เดือน ซึ่งเป็นการประเมินเชิงประจักษ์ จะมีทีมประเมินเป็น 2 ชุด โดยชุดแรกเป็นทีมโคชชิ่ง มอบให้ กศจ.เป็นผู้คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่มาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง และชุดที่ 2 เป็นคณะกรรมการที่จะทำหน้าที่ประเมินผล” นายการุณกล่าว

โพสต์โดย : อาจารย์ตาใส