Social :



ไม่ผ่าน! สภาฯโหวตคว่ำญัตติก้าวไกลเสนอตั้งกมธ.ศึกษาแก้ปัญหา “เด็กรหัส G”

18 ต.ค. 66 19:10
ไม่ผ่าน! สภาฯโหวตคว่ำญัตติก้าวไกลเสนอตั้งกมธ.ศึกษาแก้ปัญหา “เด็กรหัส G”

ไม่ผ่าน! สภาฯโหวตคว่ำญัตติก้าวไกลเสนอตั้งกมธ.ศึกษาแก้ปัญหา “เด็กรหัส G”

สภาฯ โหวตคว่ำญัตติก้าวไกล เสนอตั้ง กมธ.วิสามัญแก้ปัญหาการศึกษาเด็กไร้สัญชาติกว่า 2 แสนคน วิปรัฐบาลชิงส่งเรื่องให้ กมธ.การศึกษาพิจารณาแทน
 

 
 

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการพิจารณาญัตติเรื่อง ขอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย หรือ “เด็กรหัส G” ซึ่งมีการเสนอญัตติและอภิปรายต่อเนื่องมาจากการประชุมครั้งก่อน โดยในที่ประชุมวันนี้มี สส.พรรคก้าวไกลหลายคนร่วมอภิปรายสนับสนุนญัตติดังกล่าว เช่น นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สส.บัญชีรายชื่อสัดส่วนเครือข่ายชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง

 




 

ระบุว่า ปัจจุบันมีเด็กไร้สัญชาติที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และไม่มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในระบบรวมกันกว่า 2 แสนคน เนื่องจากในประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีสงครามและมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้คนส่วนหนึ่งจำเป็นต้องเข้ามาแสวงหาโอกาสเป็นแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย

 

 

ดังนั้น สังคมไทยจึงต้องเปิดใจโอบรับพี่น้องแรงงานข้ามชาติ โดยมองพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่ลูกหลานของพวกเขา ในอนาคตคนกลุ่มนี้จะเป็นคนทำงานที่มีฝีมือ เป็นผู้บริโภค และเป็นผู้เสียภาษี ย้อนกลับมาเป็นประโยชน์ต่อประเทศทั้งสิ้น


 

 

การจัดการศึกษาให้กลุ่มคนเหล่านี้จึงไม่ได้เป็นภาระของสังคมไทย การใช้งบประมาณ 300-500 ล้านบาทต่อปี ไม่เกินศักยภาพที่รัฐบาลไทยจะทำได้ และถ้าหากรัฐบาลไทยมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ก็มีโอกาสขอรับเงินช่วยเหลือจากองค์กรด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้ด้วย

 

 
Lif




ด้านณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้เป็นผู้สรุปญัตติหลังจบการอภิปราย โดยระบุว่า เด็กทุกคนในประเทศนี้มีความคาดหวังว่าสภาแห่งนี้จะตั้งกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาไม่ให้มีเด็กคนใดตกหล่นไปจากระบบการศึกษาของประเทศนี้อีก ทุกคนน่าจะเคยอ่านหนังสือเรื่อง “เจ้าชายน้อย” มาก่อน ประโยคสำคัญของเรื่องบอกไว้ว่า เวลาเราจะคิดหรือทำอะไรในเรื่องของเด็ก ท่านจะใช้สายตาหรือใช้หัวใจในการมอง

 

 

การลงมติในญัตตินี้ จึงสำคัญมาก จะตัดสินโดยใช้สายตาที่แต่ละคนสั้นหรือยาวไม่เท่ากัน มีกรอบวิธีคิดที่แตกต่างกัน หรือจะใช้หัวใจในการตัดสินใจว่าทุกคนที่เป็นเด็กในประเทศนี้คือลูกหลานของเรา

 



 

 

ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา เพราะเรื่องนี้ครอบคลุมใน 4 มิติ ทั้งด้านการศึกษา สุขภาพ แรงงาน และสิทธิความเป็นพลเมืองหรือความเป็นมนุษย์ ซึ่งณัฐวุฒิย้ำว่าเวลาพูดถึงสิทธิเด็ก เด็กพูดด้วยตัวเองไม่ได้ สภาแห่งนี้จึงต้องเป็นศูนย์กลางในการยืนยันเรื่องนี้

 

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงก่อนการลงมติ วิปรัฐบาลได้ประสานมายังพรรคก้าวไกลว่า จะลงมติไม่เห็นชอบกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าว โดยมองว่า ประเด็นนี้สามารถมอบให้คณะกรรมาธิการการศึกษาไปพิจารณาเพียงคณะเดียวได้ ทำให้ผลการลงมติออกมาที่เห็นด้วย 164 เสียง และไม่เห็นด้วย 245 เสียง การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้นจึงไม่เกิดขึ้น โดยคณะกรรมาธิการการศึกษาจะรับไปดำเนินการต่อ และใช้กรอบเวลา 90 วันในการดำเนินการให้แล้วเสร็จ

 


ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy