Social :



ส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์! ก้าวไกล ส่ง 4 ขุนพล ชูนโยบายการศึกษา รื้อระบบเดิม

26 เม.ย. 66 18:04
ส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์! ก้าวไกล ส่ง 4 ขุนพล ชูนโยบายการศึกษา รื้อระบบเดิม

ส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์! ก้าวไกล ส่ง 4 ขุนพล ชูนโยบายการศึกษา รื้อระบบเดิม

พรรคก้าวไกล ส่ง 4 ขุนพล ชูนโยบายการศึกษา รื้อระบบเดิม เพิ่มศักยภาพเท่าทันโลก ทลายอำนาจนิยมในห้องเรียน ส่งเสริมนวัตกรรมสร้างสรรค์ พัฒนานักเรียนและครู
 

 

พรรคก้าวไกล ร่วมเวทีนำเสนอนโยบายด้านการศึกษา ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น โดยรวมพลังก้าวไกล ล่าการศึกษาล้าหลังข้ามศตวรรษ และส่ง 4 ขุนพลก้าวไกล มาเสนอนโยบายการศึกษา ที่พร้อมจะรื้อการศึกษาแบบเดิมๆ เพิ่มการศึกษาที่เท่าทันโลก เด็กไทยไม่ต้องกินข้าวคลุกน้ำปลา

 

 

โดยเริ่มจากนางสาวกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ กล่าวถึงการปฏิรูประบบราชการ หลักสูตรการเรียน โดยเฉพาะอำนาจนิยมในห้องเรียนที่ฝังรากลึกมายาวนาน จำเป็นต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้งการเพิ่มพูนความรู้กับผู้ปกครองให้เข้าใจลูกหลานมากขึ้น การเพิ่มช่องทางให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเข้ามาดูแลนักเรียน กลไกการมีส่วนร่วมผ่านสภานักเรียนในแง่งบประมาณ

 

 

นำเสนอนโยบายเพื่อความเป็นประชาธิปไตย นอกจากนี้ ต้องเร่งลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การเพิ่มประสิทธิภาพงบประมาณให้โปร่งใส มีกลไกการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครอง และการลดเวลาเรียนจาก 1,200 ชั่วโมง เหลือ 800 ชั่วโมง โดยจะมีคูปองเปิดโลกให้นักเรียนไปเพิ่มทักษะนอกเหนือจากการเรียนในห้อง




 

 

ด้านนายบารมี ไวจงเจริญ (ครูจวง) กล่าวถึงหลุมแห่งความเจ็บปวดของการศึกษา พร้อมย้ำพรรคก้าวไกลต้องการทลายให้ได้ หากได้เป็นรัฐบาล โดยกล่าวถึง ระบบ TCAS ที่นักเรียนต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งที่ผ่านมามีการพิมพ์ข้อสอบผิดทุกปี กลับไม่ยอมรับว่าผิด อีกทั้งข้อสอบทุกวิชาไม่เคยเฉลย ไม่เคยเผยแพร่ข้อสอบ

 

 

ดังนั้น ระบบต้องโปร่งใส รวมถึงค่าสอบ ค่าสมัคร ไม่เอื้อกับผู้ที่ไม่พร้อม แสดงให้เห็นว่าระบบนี้ปิดกั้นคนยากจน จึงขอเรียกน้องลดให้เหลือไม่เกิน 500 บาท ส่วนเรื่องหลักสูตร ป.1 -ม.6 ใช้มาประมาณ 15 ปี ยังไม่มีการปรับหลักสูตร และหากพรรคก้าวไกล เป็นรัฐบาล จะเป็นนโยบายหลัก ที่จะเข้าไปร่าง โดยขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สร้างการมีส่วนร่วม พร้อมมองว่า หลักสูตรที่ล้าหลัง
Lif
และวิชาเรียนไม่ทันสมัย จึงมีแผนลดเวลาเรียน เพิ่มวิชาทางเลือก เหมือนในต่างประเทศ เรียนวิชาบังคับในภาคเช้า และภาคบ่ายเรียนวิขาทางเลือก เช่น ว่ายน้ำ การตลาดออนไลน์ รวมถึงกลุ่มเพื่อนครู รุ่นใหม่ที่มีไฟ มักพร้อมปฏิรูปการศึกษ


 

 

แต่กลับถูกกดทับกับการศึกษาที่ล้าหลัง อย่างงานเอกสารที่สลับซับซ้อน จึงต้องโละงานเอกสารให้น้อยลง ขณะนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้นิยามการศึกษา คือ “การเติมเต็มศักยภาพของคน” เพื่อให้แข่งขันกับคนอื่นได้ นโยบายการศึกษาไม่ควรคิดอยู่ในกรอบของโรงเรียน ทั้งนี้ พรรคก้าวไกลมีนโยบายสนับสนุนเงินเบี้ยให้เด็กเล็ก 1,200 บาท เด็กทุกคนที่เกิดในประเทศนี้ต้องเป็นลูกของสังคมที่รัฐบาลต้องดูแล การเพิ่มงบประมาณอาหารกลางวันให้นักเรียน และการจัดรถโรงเรียนให้นักเรียน

 

 



พร้อมถามกลับงบกระทรวงศึกษาธิการลดลง ต่างจากกระทรวงกลาโหมที่เพิ่มขึ้น โดยให้เหตุผลว่า เด็กน้อยลง จึงขอตั้งคำถาม มีเด็กจะหลุดระบบจากการศึกษา 1.3 ล้านบาท ใช้งบประมาณเพียงปีละ 4,000 ล้านบาท เมื่อเที่ยบกับการจัดซื้อยุทธโทปกรณ์ เรือดำน้ำ ใช้งบน้อยกว่ามาก พร้อมย้ำต้องลดอำนาจนิยมในโรงเรียน เน้นเติมศักยภาพให้นักเรียน ทำตามความฝัน แต่การยัดเยียดการเรียน ทำให้ไม่มีการศึกษาที่สร้างสรรค์ นอกจากนี้ ต้องลงทุนด้านการศึกษาที่เป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์

 

 

ปิดท้ายที่ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ กล่าวถึงการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ทั้งนี้ เด็กที่จบมา บางคนทำงานไม่ตรงสาย มหาวิทยาลัยก็ผลิตนักศึกษาออกมา เพื่อใบปริญญา ซึ่งต่างจากมหาลัยในต่างประเทษที่เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการเรียนรู้ ทำงานวิจัยนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

 

 

สำหรับอุตสาหกรรมนวัตกรรม ภาครัฐคือกุญแจในการเริ่มสตาร์ท ด้วยการจุดประกาย เช่น การนำปัญหาทางสังคม มาทำให้สอดคล้องกับนวัตกรรม และจะเกิดการลงทุน ผลิตในประเทศ เกิดการจ้างงานในประเทศ ส่งผลให้งานวิจัยในมหาลัยถูกนำไปใช้ได้จริง

 

 

 

 ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy