เทียบตัวเลขผู้ติดเชื้อ ‘โควิด’ เพียง 2 วัน ลดลงจริง แต่เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ยังต้องจับตามาตรการคุมโรค
หากนับตั้งแต่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ประกาศยกระดับมาตรการคุมการระบาดโควิด-19 “ล็อกดาวน์” พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา โดยให้มีผลวันที่ 12 กรกฎาคม 2564
มาจนถึงราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ 10/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 สั่ง ณ วันที่ 17 กรกฎาคม
- ศบค.ล็อกดาวน์ 10 จว. เคอร์ฟิว 3 ทุ่มถึงตี 4
- ราชกิจจาฯ ประกาศ ล็อกดาวน์เพิ่มอีก 3 จว. อีก 13 จว. เคอร์ฟิวต่อ 14 วัน
มีผลให้ประชาชนและกิจการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (รวม 13 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, นครปฐม, นนทบุรี นราธิวาส, ปทุมธานี, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ยะลา, สงขลา, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) สามารถทำได้ ดังนี้
– ห้ามออกนอกเคหสถาน เวลา 21.00-04.00 น. ยกเว้นบุคคลที่ได้รับอนุญาต
– ลดการเดินทางในพื้นที่และงดการเดินทางข้ามจังหวัด
– ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ WFH 100% และให้เอกชน WFH เต็มขีดความสามารถ
– ให้ใช้เอกสารรับรองการเดินทาง หรือ QR Code เพื่อใช้เดินทางเข้า-ออกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (ผู้เดินทางจะต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ที่กำหนด https://covid-19.in.th เพื่อรับ QR Code มาแสดงกับเจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจ)
– ขนส่งสาธารณะ จำกัดผู้โดยสารไม่เกิน 50% ของความจุ
– ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม เปิดได้ถึง 2 ทุ่ม ห้ามทานในร้าน ให้ซื้อกลับบ้านเท่านั้น
– ห้าง/ศูนย์การค้า/คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ต ยาและเวชภัณฑ์ และพื้นที่การให้บริการฉีดวัคซีน หรือบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ ของภาครัฐเปิดได้ถึง 2 ทุ่ม
– โรงแรมเปิดได้ปกติ งดกิจกรรมสัมมนา ประชุม หรือจัดเลี้ยง
– ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด ปิดตั้งแต่ 20.00-04.00 น.
– โรงเรียน/สถานศึกษา/สถาบันการศึกษา เรียนออนไลน์ ห้ามใช้สถานที่จัดการสอน
– กิจการต่อไปนี้เปิดได้ตามความจำเป็น+ต้องดำเนินการตามสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านค้าทั่วไป โรงงาน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ธุรกิจสื่อสารคมนาคม ไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านจำหน่ายเครื่องมือช่างและอุปกรณ์ก่อสร้าง ร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดอันจำเป็น สถานที่จำหน่ายแก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง
*ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
– ห้ามจัดกิจกรรม การรวมกลุ่มของบุคคลมากกว่า 5 คน
การบังคับใช้มาตรการดังกล่าวให้ปฏิบัติเป็นระยะเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 14 วัน จนถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2564 โดยให้เริ่มปฏิบัติมาตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคมเป็นต้นมา
- สรุปย่อ คำสั่งเปิด-ปิดสถานที่ 13 จังหวัดคุมเข้ม มีผล 20 ก.ค.เป็นต้นไป
จนถึงวันนี้ (27 กรกฎาคม) เป็นเวลา 16 วันแล้ว ที่ภาครัฐขยายเวลา “ล็อกดาวน์” พื้นที่ 13 จังหวัด เพื่อหวังควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ทว่า ก็ยังไม่สามารถลดตัวเลขผู้ติดเชื้อให้ต่ำกว่าหลักหมื่น หรือจำนวนผู้เสียชีวิตให้น้อยลงกว่าที่ผ่านมาได้
หากเทียบเฉพาะตัวเลขผู้ติดเชื้อ-เสียชีวิตรายวันเพียงวานนี้ (26 กรกฎาคม) และวันนี้ (27 กรกฎาคม) พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง (วานนี้พบผู้ติดเชื้อใหม่ 15,376 คน ส่วนวันนี้พบผู้ติดเชื้อใหม่ 14,150 คน) แต่ตัวเลขผู้เสียชีวิตกลับมากขึ้น โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 31 คน
หลังจากนี้คงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่ารัฐบาลจะมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างไร เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตให้ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางข่าวลือแพร่สะพัดที่ระบุว่าอาจต้องลดจำนวนการฉีดวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อ หรือปิดศูนย์ฉีดที่สถานีกลางบางซื่อ เพื่อลดความหวาดระแวงทางการเมือง
โดยจัดทีมแพทย์ไปฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นแทน
- สะพัดสั่งยุบศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อ ชี้เหตุผลการเมือง เล็งยกให้กทม.ทำแทน ทั้งที่จัดฉีดทะลุ 1 ล้านโดสแล้ว
- ‘ศบค.’ เผย ตจว.อัตราติดเชื้อแซง กทม.และปริมณฑล เสนอผู้ว่าฯเตรียมแผนกักตัวชุมชน-บ้าน กรณีเตียงล้น
ขอบคุณที่มา ข่าวมติชน
โพสต์โดย : ปลายน้ำ